เมนู

4. คาวีสูตร


ว่าด้วยอุปมาการหาอาหารของแม่โคกับการปฏิบัติของภิกษุ


[239] ดูก่อนภิกษุนั้นหลาย แม้โคเที่ยวไปตามภูเขา เป็น
โคโง่ ไม่ฉลาด ไม่รู้จักเขตที่หากิน ไม่เข้าใจที่จะไปเที่ยวบนเขา
อันขรุขระ แม้โคนั้นพึงคิดอย่างนี้ว่า ผิฉะนั้น เราพึงไปยังทิศที่ไม่
เคยไป พึงกินหญ้าที่ยังไม่เคยกิน และพึงดื่มน้ำที่ยังไม่เคยดื่ม
แม่โคนั้นยันเท้าหน้าก็ไม่ดีเสียแล้ว พึงยกเท้าหลังอีก ก็คงจะไป
ยังทิศที่ยังไม่เคยไปไม่ได้ กินหญ้าที่ยังไม่เคยกินไม่ได้ และดื่มน้ำ
ที่ยังไม่เคยดื่มไม่ได้ แม่โคนั้นยืนอยู่ในที่ใดพึงคิดอย่างนี้ว่า ผิฉะนั้น
เราพึงไปยังทิศที่ไม่เคยไป พึงกินหญ้าที่ยังไม่เคยกิน และพึงดื่ม
น้ำที่ยังไม่เคยดื่ม มันกลับมายังที่นั้นอีกโดยสวัสดีไม่ได้ ข้อนั้น
เพราะเหตุไร เพราะแม่โคนั้นเที่ยวไปบนภูเขา เป็นคนโง่ ไม่ฉลาด
ไม่รู้จักเขตที่หากิน ไม่เข้าใจที่จะเที่ยวไปบนภูเขาอันขรุขระ ฉันใด
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุบางรูปในธรรมวินัย
นี้เป็นคนโง่ ไม่ฉลาด ไม่รู้จักเขต ไม่เข้าใจเพื่อสงัดจากกาม
สงัดจากอกุศลกรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติอันและสุขอัน
เกิดแต่วิเวกอยู่ เธอไม่เสพโดยมาก ไม่เจริญ ไม่กระทำให้มาก
ซึ่งนิมิตนั้น ไม่อธิษฐานนิมิตนั้นให้ดี เธอย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า
ผิฉะนั้น เราพึงบรรลุทุติฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็น
ธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป

มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ เธอไม่อาจเพื่อบรรลุทุติยฌาน ฯลฯ
เธอย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า ผิฉะนั้น เราพึงสงัดจากกาม สงัด
จากอกุศล บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่
วิเวกอยู่ เธอย่อมไม่อาจเพื่อสงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้เรากล่าวว่า มีชื่อเสียงปรากฏพลาด
เสื่อมจากผลทั้งสอง 2 แล้ว เปรียบเหมือนแม่โคเที่ยวไปบนภูเขา
เป็นโคโง่ ไม่ฉลาด ไม่รู้จักเขตที่หากิน ไม่เข้าใจที่จะเที่ยวไปบน
เขาอันขรุขระ ฉันนั้น.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม่โคที่เที่ยวไปบนภูเขา เป็นโคฉลาด
เฉียบแหลม รู้จักที่เที่ยวไปบนภูเขาอันขรุขระ. แม่โคนั้นพึงมีความคิด
อย่างนี้ว่า ผิฉะนั้น เราพึงไปยังทิศที่ไม่เคยไป พึงกินหญ้าที่ยัง
ไม่เคยกิน และพึงดื่มน้ำที่ยังไม่เคยดื่ม แม่โคนั้นยังเท้าหน้าไว้ดีแล้ว
พึงยกเท้าหลัง แม่โคนั้นพึงไปยังทิศที่ไม่เคยไป พึงกินหญ้าที่ยัง
ไม่เคยกิน และพึงดื่มน้ำที่ยังไม่เคยดื่ม เมื่อยืนอยู่ในที่ใด พึงคิดอย่างนี้
ว่า ผิฉะนั้น เราพึงไปยังทิศที่ไม่เคยไป พึงกินหญ้าที่ยังไม่เคยกิน
พึงดื่มน้ำที่ยังไม่เคยดื่ม และพึงกลับมายังที่นั้นโดยสวัสดี ข้อนั้น
เพราะเหตุไร เพราะแม่โคเที่ยวไปบนภูเขา เป็นโคฉลาด เฉียบแหลม
รู้จักเขตที่หากิน เข้าใจที่จะเที่ยวไปบนภูเขาอันขรุขระ ฉันใด
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้
เป็นบัณฑิต ฉลาด รู้จักเขต เข้าใจที่จะสงัดจากกาม สงัดจาก
อกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน... เสพโดยมาก เจริญ กระทำให้มาก
ซึ่งนิมิตนั้น อธิษฐานนิมิตนั้นให้มั่นด้วยดี,

เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ผิฉะนั้น เราพึงบรรลุทุติยฌาน
มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก
ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่
เธอเสพโดยมากซึ่งนิมิตนั้น เจริญ กระทำให้มากซึ่งนิมิตนั้น
อธิษฐานนิมิตนั้นให้มั่นด้วยดี.
เธอมีความคิดดังนี้ว่า ผิฉะนั้น เราพึงมีอุเบกขามีสติสัมปชัญญะ
เสวยสุขด้วยนามกายเพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติฌานที่พระอริยเจ้า
ทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มีอุเบกขามีสติอยู่เป็นสุข
เธอยังไม่ยินดีเพียงตติฌานที่ได้บรรลุ ฯลฯ เธอเสพโดยมาก
เจริญ กระทำให้มากซึ่งนิมิตนั้น อธิษฐานนิมิตนั้นให้ด้วยดี.
เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ผิฉะนั้น เราพึงบรรลุจตุตถฌาน
ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัส โทมนัส
ก่อน ๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ เธอยังไม่ยินดี
เพียงจตุตถฌานที่ได้บรรลุนั้น เธอเสพโดยมาก เจริญ กระทำ
ให้มากซึ่งนิมิตนั้น อธิษฐานนิมิตนั้นให้มั่นด้วยดี,
เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ผิฉะนั้น เรา เพราะล่วงรูปสัญญา
โดยประการทั้งปวง เพราะดับปฏิฆสัญญา เพราะไม่ใส่ใจถึง
นานัตตสัญญา พึงบรรลุอากาสานัญจายตนฌาน โดยคำนึงเป็น
อารมณ์ว่า อากาศไม่มีที่สุด เธอยังไม่ยินดีเพียงอากาสานัญ-
จายตนฌานที่ได้บรรลุนั้น เธอเสพโดยมาก เจริญ กระทำให้มาก
ซึ่งนิมิตนั้น อธิษฐานนิมิตนั้นให้มั่นด้วยดี.

เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ผิฉะนั้น เรา เพราะล่วงอากาสา-
นัญจาญตนฌาน โดยประการทั้งปวง พึงบรรลุวิญญาณัญจายตนฌาน
โดยคำนึงเป็นอารมณ์ว่า วิญญาณไม่มีที่สุด เธอยังไม่ยินดีเพียง
วิญญาณัญจายนฌานที่ได้บรรลุนั้น เธอเสพโดยมาก เจริญ
กระทำให้มากซึ่งนิมิตนั้น อธิษฐานนิมิตนั้นให้มั่นด้วยดี.
เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ผิฉะนั้น เรา เพราะล่วงวิญญาณัญ-
จายตนฌานโดยประการทั้งปวง พึงบรรลุอากิญจัญญายตนฌาน
โดยคำนึงเป็นอารมณ์ว่า อะไร ๆ หน่อยหนึ่งไม่มี เธอไม่ยินดีเพียง
อากิญจัญญายตนะที่ได้บรรลุนั้น เธอเสพโดยมาก เจริญ กระทำ
ให้มากซึ่งนิมิตนั้น อธิษฐานนิมิตนั้นให้มั่นด้วยดี,
เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ผิฉะนั้น เรา เพราะล่วงอากิญ-
จัญญายตนะโดยประการทั้งปวง พึงบรรลุเนวสัญญานาสัญญาตนะ
เธอไม่ยินดีเพียงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานที่ได้บรรลุนั้น เธอ
เสพโดยมาก เจริญ กระทำให้มากซึ่งนิมิตนั้น อธิษฐานนิมิตนั้น
ให้มั่นด้วยดี.
เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ผิฉะนั้น เราล่วงเนวสัญญานา-
สัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง พึงบรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ
เธอไม่ยินดีเพียงสัญญาเวทยิตนิโรธที่ได้บรรลุนั้น.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในกาลใดแล ภิกษุเข้าก็ดี ออกก็ดี
ซึ่งสมาบัตินั้น ๆ ในกาลนั้น จิตของเธอเป็นจิตอ่อน ควรแก่การงาน
เธอมีสมาธิอันหาประมาณมิได้ เจริญดีแล้ว ย่อมโน้มน้อมจิตไป
เพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งธรรมใด ที่ควรกระทำให้แจ้งด้วยอภิญญา

ในธรรมนั้น ๆ ได้ ในเมื่อเหตุมีอยู่ ๆ ถ้าเธอหวังว่า เราพึง
ฟังเสียงสองอย่าง คือ เสียงทิพย์ เสียงมนุษย์ ทั้งที่ไกลและใกล้
ด้วยโสตธาตุอันเป็นทิพย์ ฯลฯ ในเมื่อเหตุมีอยู่ ๆ ถ้าเธอหวังว่า
เราพึงกำหนดรู้ใจของสัตว์อื่นของบุคคลอื่นด้วยใจ คือ จิตมีราคะ
ก็พึงรู้ว่า จิตมีราคะ หรือจิตปราศจากราคะก็พึงรู้ว่า จิตปราศจาก
ราคะ จิตมีโทสะก็พึงรู้ว่า จิตมีโทสะ หรือจิตปราศจากโทสะก็พึง
รู้ว่า จิตปราศจากโทสะ จิตมีโมหะก็พึงรู้ว่า จิตมีโมหะ หรือจิต
ปราศจากโมหะก็พึงรู้ว่า จิตปราศจากโมหะ จิตหดหู่ก็พึงรู้ว่า
จิตหดหู่ หรือจิตฟุ้งซ่าน ก็พึงรู้ว่า จิตฟุ้งซ่าน จิตเป็นมหัคคต
ก็พึงรู้ว่า จิตเป็นมหัคคตหรือจิตไม่เป็นมหัคคตก็พึงรู้ว่า จิตไม่เป็น
มหรคต จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่าก็พึงรู้ว่า จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า หรือจิต
ไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่าก็พึงรู้ว่า จิไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า จิตเป็นสมาธิก็พึง
รู้ว่า จิตเป็นฯสมาธิ หรือจิตไม่เป็นสมาธิก็พึงรู้ว่า จิตไม่เป็นสมาธิ
จิตหลุดพ้นก็พึงรู้ว่า จิตหลุดพ้น หรือจิตไม่หลุดพ้นก็พึงรู้ว่า จิต
ไม่หลุดพ้น เธอย่อมถึงความเป็นผู้ควรเป็นพยานในธรรมนั้น ๆ ได้
ในเมื่อเหตุมีอยู่ ๆ ถ้าเธอหวังว่า เราพึงระลึกถึงชาติก่อนได้เป็น
อันมาก คือ ระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง ฯลฯ พึงระลึกถึง
ชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ด้วย
ประการดังนี้ เธอย่อมถึงความเป็นผู้ควรเป็นพยานในธรรมนั้น ๆ
ได้ ในเมื่อเหตุมีอยู่ ๆ ถ้าเธอหวังอยู่ว่า เราพึงเห็นหมู่สัตว์ ฯลฯ
ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์ พึงรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์

ผู้เป็นไปตามกรรม ฯลฯ เธอย่อมถึงความเป็นผู้ควรเป็นพยาน
ในธรรมนั้น ๆ ได้ ในเมื่อเหตุมีอยู่ ๆ ถ้าเธอหวังว่า เราพึงกระทำ
ให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะ
ทั้งหลายสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ เธอ
ย่อมถึงความเป็นผู้ควรเป็นพยานในธรรมนั้น ๆ ได้ ในเมื่อเหตุมีอยู่ ๆ.
จบ คาวีสูตรที่ 4

อรรถกถาคาวีสูตรที่ 4


คาวีสูตรที่ 4

มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า ปพฺพเตยฺยา ได้แก่ แม่โคมักเที่ยวไปบนภูเขา. บทว่า
น สุปติฏฺฐิตํ ปติฏฺฐาเปตฺวา ได้แก่ ไม่ยันเท้าหน้าไว้ให้ดี. บทว่า
ตํ นิมิตฺตํ ได้แก่นิมิต กล่าวคือปฐมฌานนั้น. บทว่า น สฺวาธิฏฺฐิตํ
อธิฏฺฐาติ
ได้แก่ ไม่ตั้งใจไว้ด้วยดี. บทว่า อนภิหิสมาโน ได้แก่
ให้สำเร็จ. บทว่า มุทุ จิตฺตํ โหติ กมฺมนิยํ ความว่า วิปัสสนาจิต
อ่อนในขณะแห่งโลกกุตตรมรรค เป็นจิตทนต่อการงาน คือควรประกอบ
การงานฉันใด จิตในจตุตถฌานมีอภิญญาเป็นบาทของภิกษุนั้น
ย่อมเป็นจิตอ่อนควรแก่การงานฉันนั้น. บทว่า อปฺปมาโณ สมาธิ
ความว่า สมาธิในพรหมวิหาร 4 ก็ดี สมาธิในมรรคผลก็ดี ชื่อว่า
สมาธิ หาประมาณมิได้ แต่ในสูตรนี้ หมายถึงอารมณ์อันหาประมาณ